#ทีม'จารตอง

Little Explorer หนูน้อยนักสำรวจ



  รางวัลชนะเลิศ ระดับชาติ
การประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์ประเภทซอฟต์แวร์ ชั้น ม.4-6 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนแห่งชาติครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557

  ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ
การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 17 (NSC2015) ประเภทโปรแกรมประยุกต์ใช้งาน ได้รับเงินทุนพัฒนาผลงานรวม 12,000 บาท

  รางวัลเหรียญทอง
การประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์ประเภทซอฟต์แวร์ ชั้น ม.1-3 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนแห่งชาติครั้งที่ 63 ระดับภาคกลางและภาคตะวันออก ปีการศึกษา 2556


  ผู้พัฒนา

  นายธนภัทร ประทีปทอง
  ศึกษาต่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  นายเกริกชัย ศรีสุโข
  ศึกษาต่อ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  นายชลันธร หนิ้ววิยะวงค์
  ศึกษาต่อ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
  พระจอมเกล้าธนบุรี
  นายธนวัฒน์ จิตอุทัย
  ศึกษาต่อ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
  พระจอมเกล้าธนบุรี
  นางสาวสุภาวดี เสือวงษ์
  ศึกษาต่อ

  ผลงาน

   ทดลองเล่น หนูน้อยนักสำรวจ (PC+Android)

   รายงานฉบับสมบูรณ์ NSC (7.8mb)

   เอกสารประกอบโครงงาน (9.6mb)



บทคัดย่อ

เด็กไทยในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการเรียนน้อยลงขาดความกระตือรือร้นในการใฝ่หาความรู้ เป็นปัญหาทำให้คุณภาพการศึกษาของไทยตกต่ำลงเรื่อยๆ เนื่องจากมีค่านิยมทางวัตถุและวัฒนธรรมจากต่างประเทศหลั่งไหลเข้ามามากมาย เด็กสนใจที่จะนั่งอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเล่นเกม มากกว่าการศึกษาหาความรู้ และให้ความสำคัญกับกิจกรรมกลุ่มที่ให้ความสนุกสนานในหมู่เพื่อน ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะนำเอาวัฒนธรรมเหล่านี้ออกจากเด็กไทย

ผู้จัดทำจึงได้คิดที่จะนำเนื้อหาความรู้ และการเล่นเกม มารวมกัน เพื่อให้เด็กไทยสามารถเล่นเกมไปพร้อมๆกับการได้ความรู้จากเนื้อหาวิชาต่างๆ ในรูปแบบของกิจกรรมกลุ่ม เพื่อให้เกิดการแข่งขันกัน มีความกระตือรือร้นที่จะรับเอาเนื้อหาความรู้เข้าใส่ตัว โดยได้จัดทำโครงงาน หนูน้อยนักสำรวจ มีลักษณะเป็นเกมสำรวจที่เล่นพร้อมกันได้หลายคน พัฒนาโดยใช้โปรแกรม Adobe Flash และใช้ PHP MySQL ในการสร้างระบบฐานข้อมูล ผู้เล่นจะแข่งขันกันค้นหาสิ่งของตามโจทย์ที่กำหนด โดยใช้ Smart Phone หรือ Tablet ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ถ่ายรูปสิ่งของที่โจทย์กำหนดให้ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับวิชาเรียนหรือกิจกรรมได้อย่างหลากหลาย เช่น ศึกษาระบบนิเวศน์ วิชาบุกเบิกของกิจกรรมลูกเสือ การค้นหาสิ่งของจากศัพท์ภาษาอังกฤษ เป็นต้น ซึ่งผู้เล่นจะได้รับความสนุกสนานในการสำรวจ เกิดความท้าทายในการแข่งขัน และยังได้รับความรู้อีกด้วยและนำสามารถนำความรู้นั้นไปเผยแพร่แก่บุคคลอื่นต่อไป

หลังจากการนำโปรแกรมไปใช้งานจริงกับกลุ่มนักเรียนที่สนใจ แล้วทำการประเมินผลการใช้โปรแกรมโดยการใช้เครื่องมือ “แบบสอบถามการใช้โปรแกรมหนูน้อยนักสำรวจ” พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีระดับความพอใจด้านประโยชน์จากโปรแกรม อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 61.3 ด้านความสนุกสนานของโปรแกรม อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 52.7 ความยากง่ายในการใช้งาน ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 47.3 รูปแบบการใช้งาน ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 58.1 และการประยุกต์ใช้งานของโปรแกรม ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 50.5 และจากข้อเสนอแนะโดยสรุปมีความเห็นว่าควรทำเกมให้มีรูปแบบที่สวยงานมากกว่านี้

จากผลการประเมินโดยการใช้เครื่องมือ “แบบสอบถามการใช้โปรแกรมหนูน้อยนักสำรวจ” พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีระดับความพึงพอใจในทุกๆ ด้านอยู่ในระดับดี จึงสรุปได้ว่าโครงงานหนูน้อยนักสำรวจ สามารถใช้ในการศึกษาและสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัวได้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความอยากเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นได้อีกด้วย